ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

สาธารณสุขมูลฐาน

primary health care

กลวิธีทางสาธารณสุขที่เพิ่มขึ้นมาจากระบบบริการของรัฐ ซึ่งมีอยู่ในระดับตำบลและหมู่บ้าน เป็นการจัดบริการสาธารณสุขแบบผสมผสาน ทั้งการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสภาพ ที่ดำเนินการโดยประชาชนเอง ซึ่งประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงาน

สาธารณสุขมูลฐานมีที่มาจากคำประกาศอัลมา-อตา (Declaration of Alma-Ata) โดยองค์การอนามัยโลก ในการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องสาธารณสุขมูลฐาน (International Conference on Primary Health Care) ที่เมืองอัลมา-อตา ประเทศรัสเซีย ระหว่างวันที่ 6 – 12 กันยายน ค.ศ.1978 (พ.ศ. 2521) ซึ่งมีเจตนาให้มีการขับเคลื่อนชุมชนโลกให้เร่งพัฒนาระบบบริการสุขภาพในแต่ละประเทศ ให้สามารถปกป้อง คุ้มครอง และส่งเสริมสุขภาพของประชากรโลกทุกคนได้อย่างเท่าเทียม บนฐานการพัฒนาที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละประเทศ และความหมายของคำว่าสุขภาพไม่ใช่แค่เพียงการไม่มีโรค แต่หมายถึง สภาวะความสุขสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม และการได้รับการดูแลให้มีสุขภาพดี ถือว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์

ลิงค์คำประกาศอัลมา-อตา https://www.who.int/publications/almaata_declaration_en.pdf
http://phc.moph.go.th/www_hss/data_center/ifm_mod/nw/phc-thai.pdf

ปรับปรุงล่าสุด 15/10/2564

 

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015